กำหนดการสัมมนาวิชาการด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ และระบาดวิทยา เครือข่ายสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 8 9 10 ครั้งที่ 25 ปีงบประมาณ 2565
“Smart Living in COVID-19 Era” ระหว่างวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2564 ณ ชั้น 5 ตึกอำนวยการและศูนย์ฝึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
รายละเอียด | บรรยายโดย | เอกสารสัมมนา | |
---|---|---|---|
|
ลงทะเบียน | ลงทะเบียนร่วมงานสัมมนา คลิก | |
|
ฉายวีดีทัศน์ "การดำเนินงาน COVID-19" | ||
|
พิธีเปิด กล่าวรายงาน |
• นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค • นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี ผอ.สคร.9 นครราชสีมา |
|
|
บรรยายพิเศษเรื่อง “Smart Living in COVID-19 Era ฉลาดอยู่ สู้โควิด” | • นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก |
|
บรรยายเรื่อง "การปฏิรูปเขตสุขภาพ : COVID-19" | • นายแพทย์โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก |
|
นำเสนอผลงานวิชาการด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ นำเสนอผลงานวิชาการประเภท Oral Presentation ห้องประชุมย่อยที่ 1 โรคติดต่อทั่วไป/โรคเอดส์/วัณโรค/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเรื้อน |
วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. ประธาน เลขา/พิธีกร น.ส.พัชรภร คอนจำนงค์ และนายอนุกูล ศิรินนท์ สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก |
ห้องประชุมย่อยที่ 2 โรคไม่ติดต่อ/โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. ประธาน เลขา/พิธีกร นางปาริชาติ จิตกลาง และนายกฤศ เรียงไธสง สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก | |
ห้องประชุมย่อยที่ 3 ผลงานวิชาการด้านระบาดวิทยา | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. ประธาน เลขา/พิธีกร น.ส.นที ชาวนา และน.ส.ฉัตรธิดา ศรีภู่ สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก | |
ห้องประชุมย่อยที่ 4 ผลงานวิชาการนานาชาติ (ภาษาอังกฤษ) | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. ประธาน เลขา/พิธีกร ดร.สมร นุ่มผ่อง และนายวิวัฒน์ สังฆะบุตร สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก | |
นำเสนอผลงานวิชาการประเภท Poster Presentation ผลงานกลุ่มที่ 1 โรคติดต่อทั่วไป/โรคเอดส์/วัณโรค/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/โรคเรื้อน |
วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. เลขา/พิธีกร น.ส.ปิยะพร มนต์ชาตรี และน.ส.ศศิพร บวบขม สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก |
|
ผลงานกลุ่มที่ 2 โรคไม่ติดต่อ/โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. เลขา/พิธีกร นายอนุพล ครึบกระโทก และน.ส.สมฤดี รัตนสรรค์ สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก | |
ผลงานกลุ่มที่ 3 ระบาดวิทยา | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. เลขา/พิธีกร นางเฉลิมพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และน.ส.วิภาวี ดีหมื่นไวย์ สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก | |
ผลงานกลุ่มที่ 4 นวัตกรรม | วิทยากรวิพากษ์ 1. 2. เลขา/พิธีกร นางจันทกานต์ วลัยเสถียร และน.ส.พรรณรัตน์ เป็นสุข สคร.9 นครราชสีมา |
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย คลิก |
รายละเอียด | บรรยายโดย | เอกสารสัมมนา | |
---|---|---|---|
|
อภิปรายเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า การจัดการโควิด-19 กับการเปิดประเทศ" | • นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี (moderator) | |
|
มอบรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้นำเสนอผลงานวิชาการดีเด่น | ||
|
พิธีมอบธงเจ้าภาพจัดงานสัมมนาวิชาการเครือข่าย สคร.7 8 9 10 ให้กับ สคร.8 อุดรธานี เจ้าภาพจัดงานสัมมนาในปีงบประมาณ 2566 | ||
|
กล่าวปิดงาน | • นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค |
1. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 - 13.00 น.
2. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 - 10.45 น. และ 14.30 - 14.45 น.
3. กำหนดการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การส่งผลงานวิชาการ
การเสนอผลงานวิชาการ มี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 นำเสนอแบบปากเปล่า (oral presentation) ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การนำเสนอผลงานวิชาการด้านโรคติดต่อทั่วไป / โรคเอดส์ / วัณโรค / โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ / โรคเรื้อน
กลุ่มที่ 2 การนำเสนอผลงานวิชาการโรคไม่ติดต่อ / โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 3 การนำเสนอผลงานวิชาการด้านระบาดวิทยา (รายงานสอบสวนโรค ประเมินระบบเฝ้าระวังฯ)
กลุ่มที่ 4 การนำเสนอผลงานวิชาการนานาชาติ (ภาษาอังกฤษ)
ประเภทที่ 2 อิเล็กทรอนิกส์โปสเตอร์ (E-poster) ประกอบด้วย 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การนำเสนอผลงานวิชาการด้านโรคติดต่อทั่วไป / โรคเอดส์ / วัณโรค / โรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ / โรคเรื้อน
กลุ่มที่ 2 การนำเสนอผลงานวิชาการโรคไม่ติดต่อ / โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มที่ 3 การนำเสนอผลงานวิชาการด้านระบาดวิทยา (รายงานสอบสวนโรค ประเมินระบบเฝ้าระวังฯ)
กลุ่มที่ 4 การนำเสนอผลงานวิชาการนวัตกรรมด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
ประกาศรับสมัครผลงานวิชาการผ่านระบบออนไลน์
ทางเว็บไซต์ ส่งผลงานวิชาการ (คลิก) โดยผู้ส่งผลงานวิชาการต้องมีบัญชี Gmail เพื่อ Login เข้าระบบ
(ระบบจะตอบรับไปทางอีเมล์ที่ท่านกรอกในระบบไว้) โดยระบุรายละเอียด ชื่อ-นามสกุล ผู้ส่งผลงาน, หน่วยงาน, จังหวัด, ประเภทผลงานที่ส่ง (Oral / E-poster), กลุ่มผลงาน, แนบไฟล์บทคัดย่อ (ตามรูปแบบที่กำหนด ไม่เกิน 350 คำ และเป็นไฟล์ pdf เท่านั้น)
โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 4 – 30 พฤศจิกายน 2564
การประกาศผลการคัดเลือก
ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา จะประกาศทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน https://ddc.moph.go.th/odpc9/
ภายใน วันที่ 7 ธันวาคม 2564 และจะมีหนังสือแจ้งทางอีเมลผู้ที่ผ่านการคัดเลือกโดยตรง ผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้รับ
1. การตีพิมพ์ในเอกสารเผยแพร่ (Proceeding)
2. การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา (TCI ฐาน 2)
3. ใบประกาศนียบัตร (เฉพาะผู้นำเสนอเท่านั้น)
4. เงินรางวัลสำหรับผู้นำเสนอที่ชนะเลิศ รองชนะเลิศลำดับที่ 1 และ 2
รายละเอียดของผลงานวิชาการ
ผลงานวิชาการที่ส่งเข้าประกวดให้ส่งมาในรูปแบบ “บทคัดย่อ” (ไฟล์ .pdf เท่านั้น) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผลงานวิชาการนําเสนอแบบปากเปล่า (oral presentation)
ให้ส่งบทคัดย่อโดยเรียบเรียงเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่อง มีความยาวตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ และแนบไฟล์
ทั้งนี้บทคัดย่อจะต้องไม่เกิน 350 คำ (ไม่รวมชื่อเรื่อง และผู้แต่ง) เนื้อเรื่องมีระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว
โดยใช้โปรแกรม Microsoft word font Angsana New ขนาด 16 pt บทคัดย่อที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อเรื่อง
1.2 ชื่อผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัย และชื่อหน่วยงาน
1.3 ขีดเส้นใต้ชื่อผู้นำเสนอผลงาน
1.4 บทนำและวัตถุประสงค์: กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของสถานการณ์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพ
ที่ไปสู่การตั้งปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์การศึกษา / วิจัยอย่างรัดกุมและได้ใจความ
1.5 วิธีการศึกษา: อธิบายรูปแบบการศึกษา (study design) การกำหนดขนาดตัวอย่างและการคัดเลือกตัวอย่าง
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
1.6 ผลการศึกษา: อธิบายผลการศึกษาที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และสอดคล้องกับวิธี การศึกษา
1.7 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ: สรุปสาระสำคัญของผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ อย่างชัดเจน ตรงประเด็น
รายละเอียดของผลงานวิชาการ(ต่อ)
2. ผลงานวิชาการที่นำเสนอด้วยอิเล็กทรอนิกส์โปสเตอร์ (E-poster presentation)
ให้ส่งบทคัดย่อโดยเรียบเรียงเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องมีความยาวตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ และแนบไฟล์
ทั้งนี้บทคัดย่อจะต้องไม่เกิน 350 คำ (ไม่รวมชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และเอกสารอ้างอิง) เนื้อเรื่องมีระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว โดยใช้โปรแกรม Microsoft word font Angsana New ขนาด 16 pt บทคัดย่อที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย
2.1 ชื่อเรื่อง
2.2 ชื่อผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัย และชื่อหน่วยงาน
2.3 ขีดเส้นใต้ชื่อผู้นำเสนอผลงาน
2.4 สถานที่ติดต่อกลับ / โทรศัพท์ โทรสาร มือถือ Email address
2.5 บทนํา (หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การศึกษา ไม่ต้องแยกเป็นหัวข้อย่อย เขียนเป็นพรรณนา อยู่ในย่อหน้าเดียวกัน)
2.6 วิธีการศึกษา / การดําเนินงาน (เนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการศึกษา / วิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้
การเก็บรวบรวมข้อมูล)
2.7 ผลการศึกษา (สาระสําคัญที่ได้จากการศึกษา / วิจัย / การคิดค้น)
2.8 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
2.9 เอกสารอ้างอิง
*ผู้ผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอจะต้องจัดทำ E-poster ขนาด A2 (กว้าง 42.0xยาว 59.4 เซ็นติเมตร) ความคมชัด 150 dpi
กติกาการส่งผลงานวิชาการ
1. แนบไฟล์บทคัดย่อ ไม่เกิน 350 คำ (ไฟล์ .pdf เท่านั้น) ผ่านทางเว็บไซต์ https://ddc.moph.go.th/odpc9/
(Banner/เมนู “สัมมนาวิชาการฯ” เลือกเมนู “ส่งผลงาน”)
2. ไม่รับบทคัดย่อทางโทรสารหรือไปรษณีย์
3. บทคัดย่อที่ไม่สมบูรณ์ หรือความยาวของเนื้อหาเกินกว่าที่กำหนด จะไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอ
4. ส่งผลงานภายในระยะเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดคณะกรรมการจะไม่รับพิจารณา
5. กรณีที่ท่านไม่สามารถส่งผลงานในระบบได้ สามารถส่งผลงานวิชาการทางอีเมล Academic.ODCP9@gmail.com
การพิมพ์บทคัดย่อ
1. พิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 โดยใช้โปรแกรม Microsoft word ความยาวไม่เกิน 350 คำ (ไม่รวมชื่อเรื่อง และผู้แต่ง) font Angsana New ขนาด 16 pt เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน ด้านล่าง กั้นหน้าและกั้นหลัง ขนาด 1 นิ้ว
2. บทคัดย่อควรสรุปถึงเนื้อหาที่จะกล่าวในบทความทั้งหมด ประกอบด้วย ความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ผลการศึกษา สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
3. พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทย (ไม่ต้องพิมพ์คำว่า “เรื่อง”) เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1 นิ้ว font Angsana New ขนาด 18 pt ตัวหนา
4. คำสำคัญท้ายบทคัดย่อ: โปรดระบุคำสำคัญ 3–5 คำ
5. การใส่ชื่อ ผู้วิจัย: ระบุชื่อผู้วิจัยทุกคน ขีดเส้นใต้ชื่อผู้เสนอผลงานฯ
6. สถานที่ทำงาน: ระบุ ชื่อหน่วยงานที่เป็นเจ้าของผลงาน ผู้ร่วมวิจัยแต่ละคน เรียงลำดับโดยใช้เลข 1, 2, 3…ตัวยก ตามลำดับ เชื่อมโยงระหว่างชื่อผู้วิจัยและสถานที่ทำงาน
|
ห้องประชุมออนไลน์ 1 | ห้องประชุมออนไลน์ 2 | ห้องประชุมออนไลน์ 3 | ห้องประชุมออนไลน์ 4 | ห้องประชุมออนไลน์ 5 | ห้องประชุมออนไลน์ 6 | ห้องประชุมออนไลน์ 7 | ห้องประชุมออนไลน์ 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ฉายวีดีทัศน์ "การดำเนินงาน COVID-19" |
|||||||
|
พิธีเปิด โดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค |
|||||||
|
บรรยายพิเศษเรื่อง "Smart Living in COVID-19 Era ฉลาดอยู่ สู้โควิด" |
|||||||
|
บรรยายเรื่อง "การปฏิรูปเขตสุขภาพ : COVID-19" |
|||||||
|
O1 (CD/SALT) |
O2 (NCD/Env.Occ) |
O3 (Epi) |
O4 (English) |
P1 (CD/SALT) |
P2 (NCD/Env.Occ) |
P3 (Epi) |
P4 (Innovation) |
|
ห้องประชุมออนไลน์ 1 | ห้องประชุมออนไลน์ 2 | ห้องประชุมออนไลน์ 3 | ห้องประชุมออนไลน์ 4 | ห้องประชุมออนไลน์ 5 | ห้องประชุมออนไลน์ 6 | ห้องประชุมออนไลน์ 7 | ห้องประชุมออนไลน์ 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อภิปราย "การจัดการ COVID-19 โดยชุมชนเพื่อชุมชน" |
|||||||
|
มอบรางวัลและโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้นำเสนอผลงานวิชาการดีเด่น |
|||||||
|
พิธีมอบธงเจ้าภาพจัดงานสัมมนาวิชาการเครือข่าย สคร.7 8 9 10 ให้กับ สคร.8 อุดรธานี เจ้าภาพจัดงานสัมมนาในปีงบประมาณ 2566 |
|||||||
|
กล่าวปิดงาน โดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค |
กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและวิจัยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.นครราชสีมา
1.นางสมร นุ่มผ่อง (นก)
2.นางสาวกรรณิกา บัวทะเล (หมิว)
โทรศัพท์: 044-212900 ต่อ 147